สังคม
การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและแนวปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน
ที่ AWC ตระหนักถึงความสำคัญของพนักงานในการขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กรให้ประสบความสำเร็จ การดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ การรักษาบุคลากร และการพัฒนาบุคลากร มีความสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างความสามารถขององค์กรเพื่อประสิทธิภาพขององค์กรและการเติบโตอย่างยั่งยืน
AWC มุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพและสร้างพลังให้แก่พนักงานทุกคน ผ่านการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นที่ยอมรับ อีกทั้งยังให้รางวัลแก่พนักงานเพื่อเป็นสร้างแรงจูงใจ บริษัทให้ความสำคัญกับการรับฟังพนักงานทุกคน เพราะเราเชื่อว่าการลงทุนไปกับบุคลากรของเราไม่เพียงเพื่อการเติบโตของ AWC เท่านั้น แต่ยังปลูกฝังพลเมืองที่มีคุณธรรมซึ่งสามารถมีส่วนร่วมต่อสังคมผ่านค่านิยมของ AWC การคิดแบบองค์รวมและบูรณาการ ความรู้ และสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน
ผลงานที่สำคัญในปี 2567
ปรับปรุงนโยบายด้านทรัพยากรบุคคล ในเรื่องการเติบโตในสายงานของพนักงาน (Career Enhancement Program)
พัฒนาภาวะผู้นำตาม Leadership DNA (Leadership DNA Development)
ออกแบบโมเดลสมรรถนะสำหรับ แต่ละตำแหน่งงาน (Role based Competency) เพื่อใช้ในการสรรหา และพัฒนาบุคลากร
ร้อยละ 73 ของตำแหน่งสำคัญ มีผู้สืบทอดจากภายใน ผู้สืบทอดตำแหน่ง คือพนักงานที่มีศักยภาพสูงสามารถรับช่วงตำแหน่งสำคัญในบริษัท
พนักงานได้เรียนรู้ และพัฒนาความรู้และทักษะ 46.2 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
พนักงานทุกคนในทุกสาขา ได้รับการพัฒนา ในเรื่อง “Property Service Excellence”
AWC มุ่งหมายในการเป็นที่หนึ่งในกลุ่มธุรกิจเดียวกันที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่น่าชื่นชม และมีความพร้อมในการดึงดูดผู้ที่มีความสามารถในทุกระดับโดยเน้นความเท่าเทียมกันทางเพศ เพื่อเข้ามาร่วมงานกับบริษัท
การสร้างคุณค่าให้แก่พนักงานของ AWC ด้วยการสร้างคน สร้างแบรนด์

สร้างสรรค์อนาคนที่ดีกว่า
AWC เชื่อมั่นในการพัฒนาศักยภาพของการสร้างสรรค์ในด้านนวัตกรรม การร่วมมือกันของพนักงานและพันธมิตรทางธุรกิจทุกภาคส่วน สามารถสร้างผลกระทบที่มีความหมายและมูลค่าระยะยาวที่ยั่งยืนสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่อนาคตที่สดใสและยั่งยืนกว่าเดิม ซึ่งขับเคลื่อนด้วยความสามารถที่ไม่เหมือนใคร ไร้ขีดจำกัด และการมีส่วนร่วมที่โดดเด่นเป็นรากฐานความสำเร็จ
สร้างจุดหมายระดับโลก
AWC ไม่ใช่แค่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ – AWC คือสถาปนิกแห่งประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครและน่าจดจำ ด้วยความมุ่งมั่นในความเป็นเลิศด้าน นวัตกรรม และการสร้างชุมชนที่ดีขึ้น เราสร้างจุดหมายและแลนด์มาร์คที่โดดเด่นซึ่งดึงดูดใจแขกเพื่อเดินทางไปยังเส้นทางเพื่อกำหนดนิยามการใช้ชีวิตสมัยใหม่ การทำงาน และการเติบโตภายในสภาพแวดล้อมที่ดี ก้าวเข้าสู่ขอบเขตที่ทุกการสร้างสรรค์บอกเล่าเรื่องราวแห่งแรงบันดาลใจและความเป็นเอกลักษณ์
สร้างการเติบโตในอาชีพ
AWC เสริมพลังให้พนักงานของเราเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาในสายอาชีพของพวกเขา ไม่ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มต้นเส้นทางอาชีพของคุณหรือพร้อมที่จะก้าวไปสู่ขั้นต่อไป AWC มุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับพนักงานทุกคน เราทุ่มเทและเดินหน้าพัฒนาพนักงานให้เป็นคนที่มีความสามารถสูงและสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถจุดประกายการเติบโตในอาชีพอย่างต่อเนื่องและสร้างโอกาสอาชีพที่ไร้ขีดจำกัด
สร้างความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
AWC มุ่นมั่นในการสร้างผลกระทบที่มีความสำคัญ เราสนับสนุนการยอมรับความสำเร็จที่โดดเด่น ที่ AWC เราใช้แบบจำลองการจัดการประสิทธิภาพที่ไม่เหมือนใครร่วมกับโปรแกรมการให้รางวัลพนักงานที่เชื่อมโยงกับความสำเร็จด้านประสิทธิภาพ ความพยายามและความทุ่มเทอย่างไม่หยุดยั้งของพนักงานที่มีผลลัพธ์และผลกระทบที่ได้รับการยอมรับ และชื่นชมความสำเร็จของพนักงานทุกคน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ AWC
ร่วมเดินทางกับ AWC ในเส้นทางที่เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจและแรงบันดาลใจ ซึ่งความสุข การร่วมมือกัน และความสำเร็จร่วมกันกำหนดเส้นทางของเรา เราเชื่อว่าสถานที่ทำงานที่มีความสุขสามารถส่งเสริมผลิตภาพ สร้างคุณค่า และการสนับสนุนสมาชิกทุกคนในทีมของเรา ที่ AWC เรามากกว่าเพื่อนร่วมงาน เราเป็นครอบครัวที่ขับเคลื่อนด้วยจุดประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน มาสนุกและเพลิดเพลินกันเพื่อเดินทางไปสู่จุดหมายของการสร้างอนาคตที่ดีกว่า
1. โปรแกรมพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนดและตามทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร (Essential Program)
ประกอบด้วย 4 โปรแกรมสำคัญ ได้แก่
ประเภทโปรแกรม | กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนผู้เข้าอบรม | ชั่วโมงเฉลี่ย | เป้าหมายการพัฒนา |
---|---|---|---|---|
1. การพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership Program) | ผู้นำองค์กร | 640 คน (52%) | 4 ชม./คน | เสริมภาวะผู้นำตามกลยุทธ์ |
2. การพัฒนาหลัก (Core Program) | พนักงานใหม่/ทุกคน | 180 คน (15%) | 1 ชม./คน | ปลูกฝังจริยธรรมและความปลอดภัย |
3. การพัฒนาเฉพาะตามสายงาน (Functional Program) | พนักงานเฉพาะสายงาน | 1,144 คน (92%) | 15 ชม./คน | เพิ่มทักษะเฉพาะด้านตรงจุด |
4. การพัฒนาพื้นฐานการทำงาน (General Program) | พนักงานทุกสายงาน | 100 คน (10%) | 1 ชม./คน | ปรับปรุงงาน-ลดต้นทุน |
2. โปรแกรมยกระดับขีดความสามารถสู่ความเป็นเลิศ (Enhancement Program)
- รูปแบบการเรียนรู้: Online Platform เช่น Coursera, In-house, Data Bootcamp
- กลุ่มเป้าหมาย: พนักงานทุกระดับที่ต้องการเพิ่มทักษะหรือเตรียมพร้อมเป็นผู้นำในอนาคต
แบ่งเป็น 5 กลุ่มหลัก:
กลุ่มโปรแกรม | ตัวอย่างหลักสูตรเด่น |
---|---|
Core Program | Agile Project Management, Strategic Planning, AWC Core Values |
Leadership Program | Leader as Coach, Transformational Leadership, AWC Leadership DNA |
Functional Program | CRM Salesforce, Accounting Standards, ESG, Machine Learning |
General Program | Design Thinking, Power BI, Cybersecurity, Analytic Thinking |
Sustainability & Digital | Circular Economy, Data-Driven Decisions, AI for Hospitality |
การประเมินผลงานพนักงาน
การประเมินผลงานแบบ Management by objectives
AWC มุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าให้แก่ stakeholders อย่างยั่งยืน ซึ่งการจะทำให้สำเร็จได้นั้น บริษัทจำเป็นต้องมีการบริหารผลการปฏิบัติงานที่ดี เพื่อส่งเสริมให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมาย พัฒนาความเชี่ยวชาญ เติบโตก้าวหน้าในอาชีพ ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม
AWC ผลักดันให้การประเมินผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้กับพนักงานทุกคนในบริษัทและมีกระบวนการดังต่อไปนี้
- การกำหนดเป้าหมาย (Target Setting) - มีการกำหนดเป้าหมายเชิงกิจกรรมและผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน มีการจัดทำแผนการปฏิบัติงานทที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการวางแผนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของการปฏิบัติงานนั้น
- การทบทวนและประเมินผลการปฏิบัติงาน - มีการจัดให้ทบทวนและประเมินผลการปฏิบัติงานทุก 3 เดือน โดยการนำเป้าหมายเชิงกิจกรรมและผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้มาเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้ทราบถึงความคืบหน้าของผลการปฏิบัติงานได้ทันท่วงที มีการให้ผลสะท้อนกลับเชิงสร้างสรรค์ และอาจมีการทบทวนแผนการปฏิบัติงานและแผนการพัฒนาบุคลากรต่างๆที่ทำไว้โดยตามความเหมาะสม
- การะประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี - มีการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการนำเป้าหมายเชิงกิจกรรมและผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ทั้งปีมาเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงทั้งปี มีการจัดทำการปรับเทียบเพื่อให้การประเมิลผลการปฏิบัติงานเกิดความยุติธรรมและโปร่งใส รวมถึงระบุจุดที่ทำได้ดีในปีที่ผ่านมา และจุที่ต้องพัฒนาเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายของการปฏิบัติงานที่ดีขึ้นในปีต่อๆไป
การประเมินผลงานแบบทีม (Team-based performance appraisal)
การบรรลุเป้าหมายของการปฏิบัติงานนั้นมักจะเกิดจากการทำงานเป็นทีม ซึ่งพนักงานทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานเป็นทีม และการทำงานเป็นทีมโดยนำความเชี่ยวชาญของพนักงานมาผสมผสานกันนั้น จะช่วยส่งเสริมบริษัทให้สร้างคุณค่าแก่ stakeholders อย่างยั่งยืนได้
เพื่อผลักดันให้การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะมีการร่วมกำหนดเป้าหมายและความรับผิดชอบของทีมกับคนในทีม โดยการนำเป้าหมายเชิงกิจกรรมและผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้มาเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้ทราบถึงความคืบหน้าของผลการปฏิบัติงานได้ทันท่วงที มีการให้ผลสะท้อนกลับเชิงสร้างสรรค์ และอาจมีการทบทวนแผนการปฏิบัติงานและแผนการพัฒนาบุคลากรต่างๆที่ทำไว้โดยตามความเหมาะสม ซึ่งการทบทวนและประเมินผลการปฏิบัติงานของทีมนั้น ทีมงานจะร่วมกันกำหนดแนวทางการทบทวนและการเมินประเมินผลการปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
การสนทนาแบบทันที (Agile Conversations)
บริษัททราบดีว่าการที่เรามุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างยั่งยืนนั้น การกำหนดให้มีการทบทวนแลประเมินผลรายไตรมาสนั้นไม่เพียงพอ บริษัทสนับสนุนให้พนักงานและหัวหน้างานทุกคนมีการให้ผลสะท้อนกลับเชิงสร้างสรรค์ได้ทันทีและตลอดเวลาผ่านการประชุมแบบตัวต่อตัว (one-on-one) ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงความคืบหน้าของผลการปฏิบัติงานและอาจมีการทบทวนแผนการปฏิบัติงานและแผนการพัฒนาบุคลากรต่างๆที่ทำไว้ได้ตามความเหมาะสมและทันท่วงที
คุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน
AWC ให้ความสำคัญกับการสรรหาและรักษาไว้ซึ่งพนักงานที่มีศักยภาพสูง ควบคู่กับการพัฒนาความรู้และความสามารถของพนักงานทุกระดับ ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานให้สามารถสนับสนุนการเติบโตของบริษัท
โครงการเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับพนักงาน
AWC มุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานของเราผ่านโครงการมากมาย เราได้นำมาตรฐานแรงงานไทยและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระดับสากลอื่น ๆ มาเป็นหลักในการคุ้มครองและสนับสนุนพนักงานทุกคน โดยส่งเสริมการสร้างสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่ ความสำคัญกับทั้งสุขภาพกายและสุขภาพทางใจ เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ
วันและเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น
บริษัทอนุญาตให้พนักงานมีวันและเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะงานของตำแหน่งงานต่าง ๆ วันและเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นนี้ ช่วยให้พนักงานสามารถทำธุระจำเป็นของพนักงานได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถดำเนินงานได้ตรงตามความต้องการของบริษัท
การลาคลอดบุตร
บริษัทมอบสิทธิ์การลาเพื่อไปคลอดบุตรแบบมีค่าตอบแทนให้แก่ทั้งผู้ดูแลหลักและผู้ดูแลรอง พนักงานหญิงสามารถลาคลอดได้ 98 วัน ซึ่งเทียบเท่ากับข้อกำหนดทางกฎหมาย สำหรับพนักงานชาย จะได้รับสิทธิ์ลาบิดา 1 วัน และลาส่วนตัวอีก 3 วัน
การทำงานแบบพาร์ทไทม์
บริษัทเสนอทางเลือกในการทำงานแบบพาร์ทไทม์ เพื่อเป็นการทำงานที่ยืดหยุ่นให้แก่พนักงานที่ต้องการเวลาทำงานน้อยกว่าตำแหน่งงานเต็มเวลา ซึ่งทางเลือกดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามข้อตกลงผ่านสัญญาจ้างงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างบริษัทกับพนักงานพาร์ทไทม์ เงื่อนไขของสัญญา รวมถึงจำนวนวันและชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์หรือต่อเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะแตกต่างกันไปตามข้อตกลง
การสนับสนุนพนักงาน
บริษัทให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีกับพนักงาน โดยมีการตั้งเป้าหมายและวางแผนกิจกรรมในระยะยาวในการสนับสนุนพนักงานในด้านต่าง ๆ เช่น
- ทางกายภาพ เช่น จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีและประกันสุขภาพและชีวิต บริหารจัดการให้ที่ทำงานมีความปลอดภัยและเข้าถึงสาธรณูปโภคที่สะอาดและถูกหลักอนามัย จัดกิจกรรมบรรยายโรคต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้แก่พนักงานในการนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรค เป็นต้น
- ทางจิตใจ เช่น จัดกิจกรรมบรรยายเรื่องการบริหารความเครียด มีการให้รางวัลเพื่อตอบแทนความสำเร็จ เป็นต้น
- ทางสังคม เช่น จัดกิจกรรมเพื่อให้พนักงานมีการปฏิสัมพันธ์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน มีการรับรู้ถึงความสำเร็จพร้อมยกย่องหรือประกาศความสำเร็จนั้น ๆ ในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
- ทางการเงิน เช่น จัดกิจกรรมให้ความรู้ถึงความสำคัญในการบริหารจัดการเงินเพื่อเกษียณอายุ จัดให้พนักงานสามารถสมัครเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น
บริษัทให้ความสำคัญของสวัสดิการพนักงานของเรา บริษัทได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานของเราได้รับการคุ้มครองจากโรคต่าง ๆ เช่น COVID-19 โรคออฟฟิศซินโดรม การจัดการความเครียดในที่ทำงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ เรายังมีการจ้างผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรภายนอกอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้โดยการจัดการบรรยายสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยแพทย์ในหัวข้อต่าง ๆ เช่น คอเลสเตอรอลสูง น้ำตาลในเลือด ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น สิทธิประโยชน์เหล่านี้สนับสนุนให้พนักงานของเราอยู่ในสภาพร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการทำงาน
บริษัทได้อำนวยความสะดวกให้พนักงานได้พักผ่อนคลายเครียดและดูแลตนเอง ผ่านการออกแบบห้องพักมีการให้บริการเพื่อสนับสนุนด้านสุขภาพจิต สุขภาพกาย และความต้องการส่วนบุคคลต่าง ๆ รวมถึง
- ห้องพยาบาล
- ห้องให้นมบุตร
- ห้องละหมาด
- ห้องสันทนาการ
- ห้องสำหรับเลี้ยงเด็ก
Heartfelt Recognition Program
AWC ผลักดันให้พนักงานมีส่วนร่วมและพัฒนาไปพร้อมกับองค์กรด้วยการยกย่องชื่นชมความสำเร็จและมอบรางวัลแก่ พนักงาน ตามแนวคิด 6A:
AWC Heartfelt Recognition Program เป็นโครงการที่มอบรางวัลให้แก่พนักงานเพื่อเป็นการยกย่องในความทุ่มเท ความสำเร็จ และการมีส่วนร่วมเชิงบวก สร้างความสุขและความมั่นใจในการทำงานของพนักงานและเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนเป็นการรักษาพนักงานที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพให้อยู่ในองค์กรโดยในปี 2567 AWC ได้จัดทำ Heartfelt Recognition Program ประกอบด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่
ความสำเร็จในชีวิตส่วนตัว
AWC ร่วมเฉลิมฉลอง เนื่องในโอกาสต่างๆ อาทิ การต้อนรับพนักงานใหม่ วันเกิด วันเกษียณ และการมีบุตรคนใหม่ เป็นต้น
ความสำเร็จ ตามเป้าหมายสำคัญ/ความก้าวหน้า
AWC ร่วมเชิดชูความสำเร็จเมื่อพนักงานได้ดำเนินงานบรรลุ ผลสำเร็จของโครงการและการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเป้าหมายขององค์กร
การปฏิบัติตามค่านิยมขององค์กร
AWC ยกย่องพนักงานที่แสดงให้เห็นถึงค่านิยมและคุณสมบัติความเป็นผู้นำของบริษัท
การสำรวจการมีส่วนร่วมของพนักงาน
AWC ทำการสำรวจการมีส่วนร่วมของพนักงานกับ Gallup เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ของพนักงานและดำเนินการริเริ่มเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและมีความสุข สามารถขับเคลื่อนความสำเร็จตามเป้าหมายองค์กรได้
ผลสำรวจการมีส่วนร่วมของพนักงาน
สัดส่วนพนักงานที่เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ ร้อยละ 92
2564 | 2565 | 2566 | 2567 | |
---|---|---|---|---|
ร้อยละของคะแนนความพึงพอใจของพนักงาน AWC (คำนวนจากคะแนนเฉลี่ยต่อคะแนนเต็ม 5 คะแนน ตามระดับการวัดผลของ GALLUP) | 70 | 77.4 | 77.4 | 76 |
ค่าตอบแทนเพื่อการดำรงชีวิต
เพื่อมอบค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงานและสนับสนุนการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมตามกฎหมายภายในประเทศและมาตรฐานของสากลที่เกี่ยวข้อง AWC จึงได้จัดทำการประเมินค่าตอบแทนพนักงาน โดยอ้างอิงข้อมูลสถิติล่าสุดของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สปช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยค่าตอบแทนจะรวมถึงค่าใช้จ่ายพื้นฐานสามประการ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย และเสื้อผ้า รวมถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ได้แก่ สุขภาพ การขนส่ง ของใช้ส่วนตัว การดูแลเด็ก และการศึกษา
การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
AWC พัฒนาและออกแบบคู่มือความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงาน รวมถึงลูกจ้าง และผู้รับเหมา (Occupational Safety, Health And Environment Manual for AWC workplace: OSHE Manual) ที่ปฏิบัติงานประจำภายในพื้นที่ของบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยได้อย่างเป็นระบบ รวมถึงสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงาน และควบคุมหลีกเลี่ยง และลดความสูญเสียจากการประสบอันตรายจากการทำงาน ในปี 2567 บริษัทยังคงเดินหน้าเพื่อทบทวนและปรับปรุงคู่มือความปลอดภัยสำหรับพนักงานเพื่อเป็นการสนับสนุนแผนและกลยุทธ์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติต่างๆ ส่งผลให้ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001-2018) ในขอบเขตการบริหารโครงการ การจัดการออกแบบ การบริหารต้นทุนและสัญญา และการบริหารการก่อสร้างของโครงการทั้งหมด
การบริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน ภาวะวิกฤต และความต่อเนื่องทางธุรกิจ
AWC ได้นำกรอบการประเมินความเสี่ยงจากอันตราย (Hazard Identification and Risk Assessment: HIRA) มาใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความปลอดภัยในสถานประกอบการและโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างตามแผนการดำเนินงานของบริษัท ครอบคลุมความปลอดภัยของพนักงานและผู้รับเหมา โดยกระบวนการประเมินความเสี่ยงประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
การส่งเสริมมาตรการด้านความปลอดภัยและวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร
ในปี 2567 AWC ได้ยกระดับมาตรการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อควบคุม ป้องกัน และลดการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นต่อพนักงานและผู้รับเหมาในแต่ละสถานประกอบการ รวมถึงเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทั่วทั้งองค์กร โดยมีการดำเนินการสำคัญ เช่น
- กำหนดให้หน่วยงานภายในจัดกิจกรรมการพูดคุยชี้แจงในช่วงเช้าก่อนเริ่มงาน (Morning Talks) เพื่อเน้นย้ำถึงสถานการณ์ความปลอดภัยของพนักงาน
- จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ในแต่ละหน่วยงาน เพื่อเน้นย้ำและกระตุ้นให้พนักงานเกิดความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงาน
- รักษาระดับมาตรการป้องกันหลังการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การรักษาความสะอาดพื้นที่สาธารณะและจุดสัมผัสร่วมเป็นประจำ การจัดเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อและแอลกอฮอล์ในพื้นที่สาธารณะ การระบายอากาศในที่ทำงาน การจัดการขยะติดเชื้อ และให้คำแนะนำด้านสุขภาพและความปลอดภัย เป็นต้น
ผลการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2567
1) รางวัลอาคารโดดเด่นด้านความปลอดภัยปี 2567
AWC ได้รับรางวัล “อาคารโดดเด่นด้านความปลอดภัยประจำปี 2567” (Building Safety Awards: BSA) จำนวน 22 รางวัล ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้ตรวจสอบอาคารร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ถือเป็นรางวัลที่มอบให้อาคารที่มีความโดดเด่นด้านความปลอดภัย และมีมาตรฐานในการออกแบบ การก่อสร้าง การดำเนินการ การบริหารจัดการ และด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดี

2) Safety Summit
AWC ได้จัดกิจกรรม “Safety Summit” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รวมตัวเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยทั้งหมดของ AWC และบริษัทในเครือ เพื่อรับทราบนโยบาย คู่มือ และบทบาทหน้าที่ในการจัดการด้านความปลอดภัยของบริษัท รวมถึงเป้าหมายการดำเนินงานในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในหัวข้อ “BETTER PEOPLE” ที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาอาชีวนามัยและความปลอดภัยในทุกอสังหาริมทรัพย์

3) ผลการบาดเจ็บจากการทำงาน
ตัวชี้วัด | 2565 | 2566 | 2567 |
---|---|---|---|
การเสียชีวิตจากการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน | 0 | 0 | 0 |
อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงาน หน่วย: คนต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน | 8.30 | 6.45 | 5.49 |
หมายเหตุ:
- ปี 2565 อัตราการความถี่ของการบาดเจ็บจากการทำงานที่ส่งผลให้หยุดงาน LTIFR ของพนักงาน เฉพาะในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและบริการ
- ปี 2566-2567 อัตราการความถี่ของการบาดเจ็บจากการทำงานที่ส่งผลให้หยุดงาน LTIFR ของพนักงาน กลุ่มธุรกิจโรงแรมและการบริการ (Hospitality) และกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ (Retail & Commercial Building) ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการการค้า (Retail & Wholesale) และธุรกิจอาคารสำนักงาน (Office)
คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน
AWC ได้จัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน โดยได้รับการรับรองจาก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งเป็นตัวแทนของคณะกรรมการบริษัท เพื่อใช้กับพนักงาน รวมถึงลูกจ้าง ผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานประจำภายในพื้นที่ของ AWC โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคนสามารถปฏิบัติตามกฏหมายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความรู้ ตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงาน และ เพื่อควบคุม หลีกเลี่ยง และลดความสูญเสียจากการประสบอันตรายจากการทำงาน คู่มือความปลอดภัยในการทำงานได้ระบุถึงกฏระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ เช่น กฏระเบียบ ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงานทั่วไป กฏระเบียบ ข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน Onsite และพื้นที่สำนักงานสำหรับผู้รับเหมา กฏระเบียบ ข้อบังคับในการทำงานบนที่สูง กฏระเบียบ ข้อบังคับการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า กฏระเบียบ ข้อบังคับการงานกับวัตถุอันตรายหรือสารเคมี เป็นต้น นอกจากกฏระเบียบ ข้อบังคับที่ได้ถูกระบุไว้แล้ว คู่มือความปลอดภัยในการทำงานยังไม่มีการกล่าวถึงการประเมินความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ การสอบสวนอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ภายใน การจัดทำแผนเพื่อรองรับอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ และการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
นโยบายสิทธิมนุษยชน
บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) (บริษัท) มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่ม โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนสำหรับทุกคนในการดำเนินงานของบริษัทและตลอดห่วงโซ่อุปทาน บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระดับประเทศและระดับสากลอย่างเคร่งครัด ซึ่งครอบคลุมปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพื้นฐานและสิทธิในการทำงาน (ILO) และหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGP) และหลักการข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) บริษัทพัฒนานโยบายสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อเคารพ และ คุ้มครองสิทธิมนุษยชน และป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
นโยบายครอบคลุม: นโยบายสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ใช้บังคับกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน ลูกค้า และชุมชน รวมไปถึง พนักงาน พันธมิตรทางการค้า อาทิ กิจการร่วมค้า ลูกค้า คนในชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนแรงงานที่ทำงานให้กับคู่ค้าหรือพันธมิตรธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท
สิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน
AWC ให้การสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานดังต่อไปนี้:
- คุ้มครองสิทธิในชีวิต เสรีภาพ และความปลอดภัยในชีวิต
- ไม่มีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับทุกรูปแบบ การค้ามนุษย์ และแรงงานทาสยุคใหม่ ในการดาเนินธุรกิจของบริษัทและตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- ไม่มีการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน หรือ การประกอบอาชีพ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความหลากหลาย ความเท่าเทียมและ การมีส่วนร่วม รวมตลอดถึง การพิจารณาค่าตอบแทนที่เท่าเทียมในงานที่มีค่าเท่ากัน
- ไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ การล่วงละเมิดทางเพศ และการล่วงละเมิด (Zero tolerance) ในรูปแบบอื่นในที่ทางาน
- ส่งเสริมเสรีภาพในการสมาคม และสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม
- ส่งเสริมสภาพการทางานที่ปลอดภัยและมีสุขภาวะ
- รับรองการจ้างงานที่มีคุณค่า และ การจัดหางานที่เป็นธรรม ด้วยค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรม เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และครอบครัว
- เคารพสิทธิความเป็นส่วนตัว
- เคารพสิทธิชุมชน และสิทธิมนุษยชนของคนในชุมชน ในด้านคุณภาพชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัย และการเข้าถึงทรัพยากรทางธรรมชาติและที่ดิน รวมถึงการรับรองการมีส่วนร่วมของชุมชน
แนวทางการบริหารจัดการ
AWC มุ่งมั่นที่จะเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน บริษัทได้ดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ซึ่งระบุถึงความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นตลอดการดำเนินงานทั้งห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุม พนักงาน พันธมิตรทางธุรกิจ ลูกค้า และชุมชนท้องถิ่น
- การระบุความเสี่ยงเชิงรุก: เราค้นหาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น ผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างรอบด้าน
- การบรรเทาและแก้ไข: เมื่อพบความเสี่ยง เราจะพัฒนาแผนการบรรเทาผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้นและแก้ไขร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอก โดยจะมีการนำแนวนี้ได้รับประกันความเป็นธรรม ความโปร่งใส และการปกป้องสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่ได้รับผลกระทบ
- การตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง: AWC มุ่งมั่นในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เราดำเนินการทบทวนการประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทุกสามปี เพื่อให้แน่ใจว่าความพยายามด้านสิทธิมนุษยชนของเรายังคงสอดคล้องกับพันธกิจของเรา
ขอบเขตของประเด็นสิทธิมนุษยชน
การวิเคราะห์บริบท: 30 ประเด็นสิทธิมนุษยชน
- แรงงานบังคับและแรงงานทาส
- แรงงานเด็ก
- การค้ามนุษย์และทาสสมัยใหม่
- เสรีภาพในการรวมตัวและสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วมกัน
- การไม่เลือกปฏิบัติในที่ทำงาน การจ้างงาน การบรรจุงาน การจ่ายค่าจ้างอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน สวัสดิการ การเลื่อนตำแหน่ง และการเลิกจ้าง
- ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม
- สภาพการทำงาน - เวลาทำงาน เวลาพักผ่อน สิทธิในการลา
- การสรรหาบุคลากรอย่างมีจริยธรรม
- ความรุนแรงและการคุกคามทุกรูปแบบ
- สภาพการทำงานที่เป็นอันตราย
- สภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
- การขาดความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
- มาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิต
- สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน
- การมีส่วนร่วมของชุมชน
- การเคารพมรดกทางวัฒนธรรม
- กลุ่มชนกลุ่มน้อย รวมถึงชนพื้นเมือง
- การอพยพย้ายถิ่น
- สิทธิในการเข้าถึงที่ดิน น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
- สิทธิในการเข้าถึงการจ้างงาน
- สิทธิในการรักษาความเป็นส่วนตัว
- สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
- สิทธิในการเลือกตั้ง
- สิทธิในการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีสุขภาพดี
- สิทธิในการแสดงความคิดเห็น
- เสรีภาพในการแสดงออก
- เสรีภาพทางศาสนา
- สิทธิในการได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภค
- สิทธิในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน
- สิทธิในการปฏิบัติที่ไม่เลือกปฏิบัติ
การระบุความกังวลและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ที่อาจเกิดขึ้นและเกิดขึ้นจริง
ครอบคลุม
การดำเนินงานของบริษัท:
การดำเนินงานของ AWC ครอบคลุมสองกลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม และ ธุรกิจค้าปลีกและอาคารพาณิชย์ (ครอบคลุมค้าปลีก ค้าส่ง และสำนักงาน) ซึ่งคิดเป็นรายได้ทั้งหมด 100% ของปี 2567
ห่วงโซ่คุณค่าหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา:
ในปี 2567 AWC เป็นเจ้าของโรงแรม 21 แห่ง โดยบริหารงานภายใต้แบรนด์โรงแรมมาตรฐาน ได้แก่ Marriott, Melia, Hilton, Intercontinental Hotel, Banyan Tree และ Okura Group ซึ่งโรงแรมภายใต้แบรนด์ Marriott, Melia และ Hilton ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดห่วงโซ่มูลค่า (การดำเนินงานของบริษัทและคู่ค้า) ผ่านวิธีการต่างๆ เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงการทำการประเมินตนเอง การใช้งานแอปพลิเคชัน Light stay และการระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจากซอฟต์แวร์โปรแกรม เช่น Verisk Maplecroft เพื่อระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นและเกิดขึ้นจริงจากกลุ่มธุรกิจโรงแรม
นอกจากนี้ เรายังได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการตรวจสอบเอกสาร การสำรวจ การอภิปรายกลุ่ม และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของ AWC รวมถึง พนักงานของ AWC พันธมิตรทางธุรกิจ - คู่ค้า ผู้เช่า บริษัทร่วมทุน ลูกค้า และชุมชนท้องถิ่น
ข้อมูลที่รวบรวมช่วยระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นและเกิดขึ้นจริงในการดำเนินงานของ AWC ตลอดห่วงโซ่อุปทาน รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ใน Human Rights Risks Assessment Summary Report
วิธีการการระบุความกังวลและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
AWC ให้ความสำคัญกับการระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นและเกิดขึ้นจริงภายในการดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทานของบริษัท เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ครอบคลุม บริษัทใช้วิธีการแบบหลายมิติที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบเอกสาร การจัดประชุมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน การสำรวจ การอภิปรายกลุ่ม และการสัมภาษณ์ วิธีการเหล่านี้ประเมินความตระหนักรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและประสบการณ์โดยตรงหรือโดยอ้อมของพวกเขาเกี่ยวกับความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชน
กลุ่ม | วิธีการรวบรวมข้อมูล |
---|---|
พนักงาน AWC | แบบสำรวจ ตรวจสอบและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ |
พันธมิตรทางธุรกิจ - ผู้เช่า คู่ค้า และบริษัทร่วมทุน | แบบสำรวจ |
ลูกค้า | แบบสำรวจ |
ชุมชน | การอภิปรายกลุ่มเป้าหมายและการสัมภาษณ์ |
การจัดลำดับความสำคัญของประเด็นสิทธิมนุษยชนผ่านเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักการของ UNGP
ตามหลักการของ UNGP (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจะพิจารณาจากสองเกณฑ์หลักคือ ความรุนแรง และ ความเป็นไปได้ (หรือความน่าจะเป็น):
ระดับความรุนแรง จะถูกกำหนดโดยพิจารณาจาก:
- ขอบเขต: จำนวนคนที่อาจได้รับผลกระทบ
- ผลกระทบ: ความรุนแรงของผลกระทบต่อผู้เสียหาย
- ความสามารถในการเยียวยา: ความเป็นไปได้ในการเยียวยาผู้เสียหายกลับสู่สถานะเดิมหรือเทียบเท่า
ระดับความเป็นไปได้ จะถูกกำหนดโดยพิจารณาจาก:
- บริบทท้องถิ่นหรือภาคอุตสาหกรรม: ความเป็นไปได้ของความเสี่ยงจะสูงขึ้นในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พื้นที่ขัดแย้ง การกำกับดูแลที่ไม่เพียงพอ การไม่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ภาคอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน/แรงงาน ประวัติการร้องเรียน และการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ การวิเคราะห์รายงานจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนประเภทต่างๆ เทียบกับมาตรการบรรเทาและเยียวยาที่มีอยู่ของบริษัท และระบุพื้นที่สำหรับการปรับปรุงมาตรการเหล่านั้นและ/หรือการพัฒนามาตรการใหม่
การระบุประเภทความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ตามการประเมิน ได้ระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน 3 ประเภท:
- ความเสี่ยงโดยธรรมชาติ: ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากลักษณะของบริบทโดยไม่มีมาตรการบรรเทาใดๆ
- ความเสี่ยงคงเหลือ: ระดับความเสี่ยงที่ยังคงอยู่แม้จะมีมาตรการบรรเทาและควบคุม
- ความเสี่ยงที่สำคัญ: พื้นที่ที่มีความสำคัญสูงที่ยังคงต้องการการดำเนินการบรรเทา และหากไม่มีการดำเนินการดังกล่าว ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่โดดเด่นเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทในระดับสูง
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ร้อยละ 100
ของการดำเนินงานทั้งหมดของ AWC รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจและคู่ค้า ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุม
ร้อยละ 7.7
ของพนักงาน AWC พบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ร้อยละ 7.7
พันธมิตรทางธุรกิจและคู่ค้าพบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ร้อยละ 100
ของพนักงาน AWC และพันธมิตรทางธุรกิจที่มีการระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ได้รับการตรวจสอบและพัฒนาแผนการบรรเทาความเสี่ยง
*ในปี 2567 ไม่พบประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในกิจการร่วมทุนและผู้เช่าของ AWC
ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ
ในปี 2567 จากการประเมินความเสี่ยง 30 ประเด็น พบประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญ 6 ประเด็น ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ถือครองสิทธิของ AWC บริษัทมีแผนที่จะดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อบรรเทาปัญหาเหล่านี้
พนักงาน AWC
- การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน
- การเลือกปฏิบัติ
พันธมิตรทางธุรกิจและคู่ค้า
- แรงงานข้ามชาติ (การบังคับใช้แรงงานและการจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม)
ลูกค้า
- สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการแก้ไขปัญหา
ชุมชน
- สิทธิที่จะได้รับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี (ระหว่างการก่อสร้าง)
- สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร (ที่ดินและน้ำ)
มาตรการการบรรเทาผลกระทบ
จากผลการประเมินความเสี่ยง พบว่ามี "ความเสี่ยงโดยธรรมชาติ" ซึ่งยังไม่มีมาตรการบรรเทาความเสี่ยง และ "ความเสี่ยงคงเหลือ" ซึ่งมีการหารือและดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการบรรเทาความเสี่ยงแล้ว เพื่อประเมิน "ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ" ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่บริษัทจำเป็นต้องดำเนินการบรรเทาความเสี่ยงเพิ่มเติม
ในปี 2567 พบประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญ 6 ประเด็น ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงสูงที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขผ่านแผนการบรรเทาความเสี่ยงและการวัดผล
หลังจากดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน พบ 6 ประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งครอบคลุม 19 สถานที่ดำเนินงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ-คู่ค้า และชุมชน AWC รับรู้ถึงความสำคัญของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งขึ้นแม้เพียงแห่งเดียว บริษัทจะพิจารณาสถานการณ์และดำเนินการทันที ดังนั้น AWC จึงได้พัฒนาและปรับใช้มาตรการบรรเทาความเสี่ยงเพื่อครอบคลุมทุกสถานที่ดำเนินงาน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง / ผู้ถือครองสิทธิ | ความเสี่ยงที่เกิดจากประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ | แผนการบรรเทาความเสี่ยงการวัดผล | ระยะเวลาในการติดตามผล |
---|---|---|---|
พนักงาน | การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกัน |
|
รายไตรมาส |
การเลือกปฏิบัติ |
|
รายไตรมาส | |
พันธมิตรทางธุรกิจและคู่ค้า | แรงงานข้ามชาติ (การบังคับใช้แรงงานและการจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม) |
|
รายไตรมาส |
ลูกค้า | สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการแก้ไขปัญหา |
|
ทุกเดือน (โดยเฉพาะข้อ2) |
ชุมชน | สิทธิที่จะได้รับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี (ระหว่างการก่อสร้าง) |
|
รายไตรมาส |
สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร (ที่ดินและน้ำ) |
|
รายไตรมาส |
มาตรการการเยียวยาผลกระทบและกลไกการร้องเรียน
ในปี 2567 AWC มุ่งมั่นที่จะยึดมั่นในมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน หากเกิดผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงานของบริษัทหรือห่วงโซ่อุปทาน AWC จะดำเนินการแก้ไข ดังนี้:
- ดำเนินการแก้ไขและตอบสนองต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับรายงานอย่างรวดเร็ว
- ให้การสนับสนุนทันทีแก่บุคคลและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
- ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจปัญหา
- ใช้ผู้เชี่ยวชาญอิสระหากจำเป็น เพื่อการประเมินที่เป็นกลาง
- แจ้งข้อมูลให้ผู้ได้รับผลกระทบตลอดกระบวนการ
- แจ้งข้อมูลให้ผู้ได้รับผลกระทบตลอดกระบวนการ
- จ่ายค่าชดเชยอย่างเป็นธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ
- จัดหาบริการสนับสนุนที่จำเป็น เช่น การรักษาพยาบาลและความช่วยเหลือทางกฎหมาย
- ดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาที่คล้ายกันในอนาคต
- ปรับปรุงนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขช่องว่าง
- ติดตามประสิทธิผลของมาตรการแก้ไข
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ได้รับผลกระทบได้รับการสนับสนุนและการเยียวยาอย่างเพียงพอ
- ร่วมมือกับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- ร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นเพื่อปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
ด้วยการดำเนินงานบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมและเข้มแข็ง พบว่า AWC ไม่พบเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนใด ๆ ตลอดการดำเนินงานและห่วงโซ่คุณค่าในปี 2567