บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) (“AWC”) ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์แบบบูรณาการระดับชั้นนำ โดยให้ความสำคัญกับโครงการพัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก โดยกลุ่มธุรกิจหลักของ AWC แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยมีธุรกิจโรงแรมเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลัก

ด้วยรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ AWC ร่วมมือกับแบรนด์โรงแรมที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติเพื่อบริการจัดการโรงแรมที่เป็นที่มีชื่อเสียง ได้แก่ กลุ่มโรงแรม แมริออท อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล, เลอ เมอริเดียน, เชอราตัน, คอร์ทยาร์ด บาย แมริออท, บันยันทรี, ฮอลิเดย์ อินน์ เอ็กซ์เพรส, ดับเบิ้ลทรี บาย ฮิลตัน, มีเลีย และ ดิ โอกุระ

AWC มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในสำคัญที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงแรมในเครือ สนับสนุนให้บริษัทในเครือนำแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนของแบรนด์โรงแรมแต่ละแห่งมาใช้เพื่อมุ่งสู่เส้นทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ AWC

การจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมาย มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573

แผนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

AWC มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านสิ่งแวดล้อม (Better Planet) โดยกำหนดกลยุทธ์และดำเนินตามแผนงานการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Strategy) เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 บริษัทขับเคลื่อนและประเมิน ผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศโดยดูจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบจนถึงการส่งมอบบริการ AWC ยกระดับขีดความสามารถขององค์กรในการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานผ่านการรับรองด้วยมาตรฐานสากล อาทิ อาคารสีเขียว (LEED, WELL and EDGE) และการลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงาน

นอกจากนี้ AWC ยังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนและลดต้นทุนการใช้พลังงาน รวมถึงมีแผนที่จะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism) เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้ บริษัทมีแนวทางในการลดการปล่อยคาร์บอน โดยมุ่งสร้างการดูดกลับหรือการชดเชยคาร์บอนผ่านกิจกรรมการปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว และนอกจากนี้บริษัทยังมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการมีส่วนร่วมกับชุมชน และการเพิ่มรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการที่ปล่อยคาร์บอนต่ำอีกด้วย

ผลการดำเนินงานปี 2565

ปริมาณการใช้พลังงาน

(หน่วย: เมกะวัตต์ชั่วโมง)

ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขตที่ 1 และ 2)

(หน่วย: ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)

การจัดการคุณภาพอากาศ

บริษัทให้ความสำคัญกับการจัดการคุณภาพอากาศในพื้นที่โครงการที่กำลังดำเนินการก่อสร้างและเปิดดำเนินการ โดยมีมาตรการควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบ และตรวจติดตามคุณภาพอากาศในบรรยากาศ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและเกณฑ์การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ตามมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป (National Ambient Air Quality Standards)

ตลอดระยะเวลาการก่อสร้างโครงการในช่วงที่มีการทำฐานราก บริษัทจะทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศทุกวัน ได้แก่ การตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 (PM2.5) และรายงานผลคุณภาพอากาศทุกสัปดาห์ หลังจากนั้นจะดำเนินการตรวจวัดมลพิษทางอากาศ อาทิ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เดือนละ 1 ครั้ง ในกรณีที่ผลการตรวจวัดมีค่าเกินมาตรฐาน โครงการจะต้องหยุดการก่อสร้างชั่วคราวเพื่อปรับปรุงแก้ไขจนกว่าผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจะมีค่าไม่เกินมาตรฐานจึงจะดำเนินการก่อสร้างต่อไป

การจัดการทรัพยากรน้ำ

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของความตึงเครียดด้านน้ำที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้น้ำของสถานประกอบการในแต่ละพื้นที่ จึงวิเคราะห์ความตึงเครียดของน้ำโดยใช้เครื่องมือ Aqueduct Water Risk Atlas ซึ่งพัฒนาโดย World Resources Institute เพื่อวางแผนและกำหนดนโยบาย การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานประจำวัน เนื่องด้วยปริมาณการใช้น้ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการให้บริการแก่ลูกค้า บริษัทจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ที่ลูกค้าใช้งาน โดยได้ติดตั้งระบบก๊อกน้ำอัตโนมัติภายในอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้าและโรงแรมส่วนใหญ่ในเครือเพื่อช่วยประหยัดน้ำ ควบคู่ไปกับการรณรงค์การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าตามหลักการ “ใช้เท่าที่จำเป็น” อีกทั้ง การติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียและนำเครื่องมือตรวจสอบแบบเรียลไทม์มาใช้ติดตามการใช้น้ำในหอระบายน้ำเย็น ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวจะตรวจจับสภาพและทำการวิเคราะห์เพื่อให้ระบบบำบัดน้ำสามารถปรับเปลี่ยนตามความแปรผันของปริมาณและคุณภาพน้ำ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ ยืดอายุอุปกรณ์ และลดการสูญเสียน้ำได้ นอกจากนี้ เรายังตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วเป็นประจำ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสีย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันผลเสียที่อาจกระทบต่อชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

การปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งสำหรับการชลประทาน

การติดตั้งตัวปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้ง ณ โรงแรม มีเลีย เกาะสมุย เสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้ 9,490 ลูกบาศก์เมตร/ปี

การระบุความเสี่ยงของทรัพยากรน้ำ

สำหรับข้อมูลผลการดำเนินงานด้านน้ำของแต่ละโครงการสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนประจำปี 2565

การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

เป้าหมาย ลดปริมาณขยะจากการดำเนินงานสู่บ่อฝังกลบให้เป็นศูนย์ (เศรษฐกิจหมุนเวียน) ภายในปี 2573

แผนการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการไม่มีของเสียจากการดำเนินงานที่ถูกกำจัดที่หลุมฝังกลบ เพื่อขับเคลื่อนแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

ในการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม AWC ให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียอย่างเหมาะสม โดยมีเป้าหมายลดปริมาณขยะจากการดำเนินงานสู่บ่อฝังกลบให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2573 AWC จัดทำแผนบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อลดการปล่อยของเสีย และการผนวกหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ากับวัฒนธรรมองค์กร โดยมุ่งเน้นการบริหาร จัดการเพื่อลดปริมาณของเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า เช่น การเพิ่มมูลค่าวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอย่างเป็นระบบโดยการจัดทำโครงการร้าน reConcept เพื่อรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้และสร้างสรรค์ออกแบบสินค้ามือสองขึ้นมาใหม่เพื่อให้เกิดคุณค่าทางศิลปะ อีกทั้งเป็นการช่วยลดการทิ้งขยะและของเสียสู่หลุมฝังกลบ นอกจากนี้ได้มีการเพิ่มสัดส่วนของวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำและย่อยสลายได้การมอบการบริการให้แก่ลูกค้า ในขณะเดียวกันบริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่มรายได้จากผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการเศรษฐกิจหมุนเวียน และร่วมมือกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่คุณค่า

การจัดการของเสีย

การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (FLW) แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบทางสังคมและต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากผลกระทบของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก

AWC ตระหนักดีว่า การลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร มีความจำเป็นและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ข้อ 12.3 โดยพยายามให้ "ภายในปี 2573 สามารถลดปริมาณขยะอาหารทั่วโลกต่อหัวในระดับค้าปลีกและระดับผู้บริโภคลงครึ่งหนึ่ง และลดการสูญเสียอาหารตลอดห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่การผลิต รวมถึงการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว”

ด้วยเหตุนี้ AWC จึงให้ความสำคัญต่อการช่วยลดความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการ ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกที่มีสาเหตุมาจากขยะอาหาร

ความมุ่งมั่นของกลุ่ม AWC ในด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

ตัวขับเคลื่อนธุรกิจ: AWC มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

  • โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยสามารถสร้างขยะจำนวน 1.15 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีขยะทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมจำนวนถึง 28 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ การขาดแคลนแหล่งอาหารอันเนื่องมาจากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดการสูญเปล่าทั้งในด้านธุรกิจและศีลธรรม
  • AWC จึงได้ริเริ่มการนำหลักแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผ่านการส่งเสริมรูปแบบการนำกลับมาใช้ซ้ำ ใช้ใหม่ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การแยกขยะ และการกำจัดขยะอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติแก่คนรุ่นต่อไป

ที่ AWC เราให้ความสำคัญต่อการลด การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยรวมและการใช้ต้นแบบการหมุนเวียนทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าของโรงแรมในเครือ ด้วยเหตุนั้น เราจึงสนับสนุนให้โรงแรมในเครือใช้และปฏิบัติตามพันธะสัญญาเฉพาะด้าน การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ที่ประกาศโดยแต่ละแบรนด์โรงแรม

กลุ่มโรงแรมในเครือ บันยันทรี

กลุ่มโรงแรมในเครือ บันยันทรี มีเป้าหมายระยะยาวที่จะลดขยะอาหารลง 30% และเปลี่ยนจากการฝังกลบ 50% ภายในปี 2568 โดยจะลดขยะอาหารลง 50% และเปลี่ยนจากการฝังกลบเป็น 100% ภายในปี 2573

กลุ่มโรงแรมในเครือ ฮิลตัน

กลุ่มโรงแรมในเครือ ฮิลตัน มุ่งมั่นที่จะลดขยะอาหารลง 50% ภายในปี 2573

กลุ่มโรงแรมในเครือ แมริออท

กลุ่มโรงแรมในเครือ แมริออท มุ่งมั่นที่จะลดขยะอาหารลง 50% ภายในปี 2568

โครงการริเริ่มด้านบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Packaging):

  • ใช้ขวดหัวปั๊มขนาดใหญ่แทนการใช้ขวดแชมพู ครีมนวดผม และเจลอาบน้ำแบบใช้ครั้งเดียวสำหรับห้องอาบน้ำภายในห้องพัก
  • ตั้งเป้าที่ในการงดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น การงดใช้หลอดพลาสติก ไม้คนเครื่องดื่ม และไม้จิ้มค็อกเทล และเลิกใช้ขวดน้ำดื่มแบบพลาสติกสำหรับการประชุมและงานกิจกรรมต่าง ๆ
  • ส่งเสริมให้ใช้วัสดุทดแทนพลาสติก เช่น ใช้กะลามะพร้าวเป็นภาชนะใส่เครื่องดื่ม ใช้ไม้ไผ่เป็นภาชนะใส่อาหาร ผ้าตกแต่งสไตล์ญี่ปุ่นแทนถุงพลาสติก

ร้านค้า reConcept store

AWC ตั้งใจให้ร้าน reConcept store มีการส่งเสริมการแปรรูปวัสดุเหลือใช้ให้กลับมาใช้ใหม่พร้อมเพิ่มมูลค่า (Upcycling) ให้กับเฟอร์นิเจอร์เก่าและวัสดุเก่าโดยทำการออกแบบใหม่ให้เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้แล้ว ของสะสมสำหรับตกแต่ง เครื่องใช้และงานฝีมือแทนการนำสิ่งของดังกล่าวไปทิ้ง ทั้งนี้ AWC จะมอบรายได้ส่วนหนึ่งที่ได้จากการขายสินค้ารีไซเคิลให้แก่มูลนิธิ แอสเสท เวิรด์ เพื่อการกุศล (AWFC)

ความหลากหลายชีวภาพ

บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า ในทุกพื้นที่ที่มีอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทตั้งอยู่ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สามารถส่งต่อสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการปลูกจิตสำนึก เสริมสร้างความรู้แก่พนักงาน ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านการอบรม ให้มีความตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า

การประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ

จำนวนสถานที่ พื้นที่ (เฮกตาร์)
1. ภาพรวม - จำนวนสถานที่ทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินงาน 22 134.98
2. การประเมิน - การประเมินผลกระทบความหลากหลายทางชีวภาพในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับพื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินงาน 22 134.98
3. การประเมินความอ่อนไหว - จำนวนสถานที่ที่อยู่ใกล้กับความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ 0 0
4. แผนการจัดการ - จำนวนสถานที่ที่มีแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ อสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดของ AWC เป็นไปตามมาตรฐานที่บังคับใช้และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในกรณีของการสัมผัสกับพื้นที่เสี่ยงต่อความหลากหลายทางชีวภาพในอนาคต AWC จะพัฒนาแผนการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อประเมิน ติดตาม และดำเนินการการบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสมตามที่กำหนดโดยกฎระเบียบที่ใช้บังคับ

เต่าทะเลวางไข่บนหาดของโรงแรมบันยันทรี สมุย

เต่าตนุถูกจัดให้อยู่ในบัญชีแดงของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union of Conservation of Nature’s: IUCN) ว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) และเป็นที่ทราบกันดีว่า เต่าตนุจะวางไข่เฉพาะบนชายหาดที่เงียบสงบและห่างไกลผู้คน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2563 โรงแรมบันยันทรี สมุย พบเต่าตนุ จำนวน 1 ตัว วางไข่ที่หน้าชายหาดโรงแรม จำนวน 5 รัง รวมเป็นไข่มากกว่า 600 ฟอง

โครงการธนาคารปูที่โรงแรมเชอราตัน สมุย

โรงแรม เชอราตัน สมุย ร่วมมือกับธนาคารปูม้าเกาะสมุยโดยมุ่งหวังที่จะฟื้นฟูและเพิ่มจำนวนประชากรปูม้าสายพันธุ์ท้องถิ่นของเกาะสมุย โครงการนี้ช่วยส่งเสริมทรัพยากรประมง และระบบนิเวศ เสริมสร้างทรัพยากรอาหารและความเป็นอยู่ของครอบครัวชาวประมงพื้นถิ่น ในขณะเดียวกัน โครงการยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง AWC กับชุมชนให้แน่นแฟ้นผ่านความร่วมมือกันดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นโครงการที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในโครงการเพื่อความยั่งยืนที่ถูกนำไปแสดงในงานแถลงข่าว (แบบไฮบริด) – สื่อมวลชนเอเปคในปี 2565 อีกด้วย

โรงแรม บันยันทรี กระบี่

โรงแรม บันยันทรี กระบี่ ร่วมมือกับมูลนิธิอันดามันในการพัฒนาโครงการนำร่องขึ้นมาเป็นโครงการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน โดยทางมูลนิธิมีพันธมิตรหลัก อาทิ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะลันตา สมาคมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประธานชุมชนบ้านทุ่งหยีเพ็ง ฯลฯ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ได้แก่

  1. สร้างความตระหนักและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำฟาร์มผึ้ง โคกหนองนาโมเดล การประมงขนาดเล็ก และธนาคารปูให้กับนักท่องเที่ยวและผู้เข้าเยี่ยมชม ซึ่งการสร้างความตระหนักรู้นี้จะช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
  2. เสริมสร้างและยกระดับการทำฟาร์มผึ้งและการประมงให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) และแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (ESG) เพื่อรักษาวิถีชีวิตของชุมชนเอาไว้
  3. 3ส่งเสริมการผลิตของที่ระลึกจากวัสดุเหลือใช้โดยชุมชนท้องถิ่น

โรงแรม บันยันทรี กระบี่ เชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับโลก

รังเต่าตนุถูกพบบนชายหาดสมุยเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 ปี และเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเต่าตนุ ทางโรงแรมได้ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ศูนย์วิจัยชุมพร) ทำการเคลื่อนย้ายไข่ (จำนวน 2 รัง จาก 5 รัง) ให้สูงกว่าระดับน้ำทะเล และสร้างพื้นที่อนุบาลไข่เต่าเพื่อป้องกันสัตว์นักล่าก่อนที่ไข่จะฟักตัว ในเดือนพฤษภาคม 2563 มีเต่าตนุที่ฟักไข่ได้สำเร็จ จำนวน 269 ตัว และเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ โรงแรมบันยันทรี สมุย ได้ระงับโครงการก่อสร้างทุกประเภทตลอดแนวชายหาด และทำงานเพื่อป้องกันแนวปะการังในพื้นที่ ทั้งยังเฝ้าติดตามการทำรังของเต่าทะเลตามแนวชายหาดโดยหวังว่าจะมีเต่ากลับมาทำรังมากขึ้น

AWC Tree Planting Project

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 ของ AWC โครงการปลูกต้นไม้จึงถูกริเริ่มขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อขยายพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกและอนุรักษ์ต้นไม้ รวมถึงเป็นการชดเชยปริมาณคาร์บอนที่ถูกปล่อยออกไป ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบด้วยการปลูกต้นไม้ผ่าน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ โครงการที่ดำเนินกิจการอยู่ โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา และการเข้าร่วมโครงการอาสาปลูกป่า

หมวดโครงการ

...

โครงการที่ดำนเนินกิจการอยู่

...

โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา

...

โครงการอาสาปลูกป่า

จำนวนต้นไม้ที่ปลูกและได้รับการอนุรักษ์ที่โครงการของ AWC