มิติด้านเศรษฐกิจและการการกำกับดูแลกิจการ
การบริหารจัดการความเสี่ยง
AWC ตระหนักและให้ความสำคัญมากกว่ากับการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร ตั้งแต่ระดับองค์กรไปจนถึงระดับปฏิบัติการในทุกหน่วยธุรกิจ จัดให้มีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงและวิกฤตเพื่อให้มั่นใจว่า AWC จะสามารถพิจารณาตัดสินความเสี่ยงและโอกาสสำหรับ AWC ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกำหนดกลยุทธ์และแผนบรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสมเพื่อลดความน่าจะเป็นและ/หรือการสูญเสียให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และ/หรือเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสทางธุรกิจเพิ่มเติม
AWC ได้กำหนดกรอบการทำงานในการบริหารจัดการความเสี่ยงของกิจการ (Enterprise Risk Management Framework) ตามมาตรฐานสากลของคณะกรรมการองค์กรสนับสนุนของคณะกรรมการ Treadway (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) หรือ การบริหารจัดการความเสี่ยงของกิจการของ COSO (COSO Enterprise Risk Management) พ.ศ. 2560 (2017) AWC ได้ประยุกต์ใช้กรอบการทำงานทั่วทั้งองค์กรด้วย นโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยง
การกำกับดูแลความเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยง
AWC เป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายประเภทซึ่งครอบคลุมธุรกิจการบริการ ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจอาคารพาณิชย์ และที่ดินแบบผสมผสาน ในการดำเนินธุรกิจ AWC ตระหนักถึงความเสี่ยงบางประการที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานของบริษัท และแนวโน้มในอนาคตของบริษัท ดังนั้น AWC จึงวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอก โดยครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาการดำเนินการบรรเทาความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบของความเสี่ยงที่ถูกระบุและช่วยให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายตามกลยุทธ์และทิศทางของเราได้ AWC พิจารณาว่าความเสี่ยงหลักเป็นความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจของ AWC และเปิดเผยข้อมูลในรายงานประจำปี ตัวอย่างความเสี่ยงหลักที่ถูกระบุแสดงไว้ด้านล่างดังนี้
ความเสี่ยงหลัก | ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ AWC | แผนบรรเทาความเสี่ยง |
---|---|---|
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ | ||
ความเสี่ยงจากการระบาดของโรคโควิด-19 |
|
|
การแข่งขันทางธุรกิจ |
|
|
ความเสี่ยงหลัก | ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ AWC | แผนบรรเทาความเสี่ยง |
---|---|---|
ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน | ||
การสรรหาบุคลากร |
|
|
กระบวนการปฏิบัติงาน |
|
|
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ |
|
|
ความเสี่ยงหลัก | ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ AWC | แผนบรรเทาความเสี่ยง |
---|---|---|
ความเสี่ยงด้านการเงิน | ||
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง |
|
|
ความเสี่ยงด้านความน่าเชื่อถือจากผู้เช่า |
|
|
ความเสี่ยงหลัก | ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ AWC | แผนบรรเทาความเสี่ยง |
---|---|---|
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ |
|
|
รายละเอียดความเสี่ยง | ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ AWC | แผนบรรเทาความเสี่ยง |
---|---|---|
บริษัทอาจเผชิญกับการหมุนเวียนพนักงานที่สูงขึ้น หรือความยากลำบากในการสรรหาพนักงานใหม่อันเนื่องมาจากวิถีชีวิตการทำงานที่เปลี่ยนไป ในปัจจุบัน ความคาดหวังจากผู้สมัครและพนักงานที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์การทำงานนั้นเพิ่มมากขึ้น นอกจากความต้องการเงินเดือนและสวัสดิการแล้ว พนักงานยังมองหาว่าบริษัทมีนโยบายในการทำงานได้จากทุกที่หรือไม่ แม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดจะดีขึ้น หากบริษัทไม่สามารถเสนอสิ่งนี้ได้ อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจร่วมงานกับบริษัท | มีความเป็นไปได้สูงว่าบริษัทจะมีอัตราการหมุนเวียนของพนักงานเพิ่มขึ้น และต้องใช้ระยะเวลามากขึ้นในการสรรหารพนักงานมาทดแทนตำแหน่งที่ว่าง สิ่งนี้นำสู่ความสามารถของบริษัทในการมุ่งสู่ความสำเร็จของวิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กร |
บริษัทมีเป้าหมายที่จะใช้แนวทางการทำงานได้ทุกที่ต่อไป เพราะเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการก้าวไปข้างหน้า อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างข้อได้เปรียบที่ไม่เหมืนใครในการดึงดูดผู้ที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานกับบริษัท |
รายละเอียดความเสี่ยง | ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ AWC | แผนบรรเทาความเสี่ยง |
---|---|---|
กฏระเบียบที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับ PDPA นั้นสร้างผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท และสร้างความท้าทายในเชิงการติดต่อกับคู่ค้าทางธุรกิจที่สำคัญ นอกจากธุรกิจการค้า ค้าปลีก และค้าส่งที่ดำเนินการและควบคุมโดย AWC แล้ว AWC ยังมีโรงแรมหลายแห่งทั่วประเทศไทย ซึ่งได้ว่าจ้างผู้ประกอบการโรงแรมที่มีชื่อเสียง เช่น Marriott, IHG หรือ Melia ให้ดำเนินการบริหารจัดการโรงแรมให้แก่ AWC โดยแต่ละโรงแรมก็มีนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการข้อมูลที่ต่างกัน ซึ่งเป็นความท้าทายของ AWC ในฐานะเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในการรับรองว่าผู้ประกอบการเหล่านี้ได้ใช้กระบวนการและการควบคุมที่เหมาะสมเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับอย่างเต็มที่ | จากการประการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับใหม่ บริษัทกำลังเผชิญกับความเสี่ยงดังต่อไปนี้: การรวบรวมข้อมูลอย่างไม่เหมาะสมหรือการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่โปร่งใสอาจส่งผลให้มีการดำเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัท และการจัดเก็บหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลอย่างไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้ข้อมูลมีคุณภาพต่ำหรือเสี่ยงต่อการถูกละเมิดข้อมูล |
|
วัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง
AWC ตระหนักดีว่าวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยรวม ดังนั้น AWC จึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
การบริหารลูกค้าสัมพันธ์
AWC มีลูกค้าเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์จึงเป็นหัวข้อหนึ่งที่มีสาระสำคัญมากที่สุด เนื่องจากส่งผลกระทบโดยตรงต่อมิติทางเศรษฐกิจ โดยส่งผลต่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจ ความต้องการของลูกค้าอาจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในขณะที่บริษัทต้องรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการ การบริหารจัดการความสัมพันธ์ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องเกี่ยวกับการเติบโตของธุรกิจของบริษัทเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับบริษัทในการให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ดังนั้น AWC จึงมุ่งมั่นที่จะบรรลุความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าในทุกหน่วยธุรกิจด้วยการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
AWC นำโปรแกรมการบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์มาปฏิบัติกับลูกค้า โดยรวมถึงผู้เช่าด้วย ซึ่งกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ และขั้นตอนสำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า นอกจากนี้ AWC ยังได้พัฒนากลยุทธ์และโปรแกรมทางการตลาดเพื่อขยายฐานลูกค้าของเรา โปรแกรมดังกล่าว ได้แก่
แบบสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
เพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง จึงมีการปรับปรุงคุณภาพการบริการ และพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาว AWC ทำการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าเป็นประจำทุกปี โดยการสำรวจจะใช้แบบสอบถามที่ประเมินปัญหาสำคัญต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์กร เช่น การมุ่งเน้นตลาด ผลิตภัณฑ์/บริการที่จัดให้ การบริหารจัดการความรู้ และผลการดำเนินธุรกิจ
ความพึงพอใจของลูกค้า | เป้าหมายปี 2564 | ||||
---|---|---|---|---|---|
ปี | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | |
ผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจของลูกค้า (%) | 69.66 | 69.94 | 73.52 | 74.35 | 71.22 |
ในปีช่วงปี 2560 ถึง 2563 คะแนนความพึงพอใจจากลูกค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่า AWC สามารถรักษาความสัมพันธ์เชิงบวกกับลูกค้าได้อย่างดี
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

AWC ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ด้วยการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงและยั่งยืน AWC จะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น ลดความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายของเราได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดจะช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันของ AWC เหนือคู่แข่งของเรา
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ AWC ได้พัฒนาหลักปฏิบัติในการทำงานสำหรับซัพพลายเออร์ของ AWC และเผยแพร่ให้ซัพพลายเออร์ทุกราย ซัพพลายเออร์ทุกรายจะต้องลงนามและส่งคืนแบบฟอร์มตอบรับให้บุคคลากรของ AWC สำหรับซัพพลายเออร์ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดพื้นฐานนี้ AWC จะไม่อนุญาตให้ซัพพลายเออร์รายดังกล่าวดำเนินธุรกิจกับ AWC หัวข้อต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในหลักปฏิบัติในการทำงานสำหรับซัพพลายเออร์ของ AWC ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมทางธุรกิจ แนวปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากหลักปฏิบัติในการทำงานสำหรับซัพพลายเออร์แล้ว AWC ยังได้พัฒนานโยบายการคัดเลือกผู้ขาย และนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเน้นย้ำถึงเจตนารมณ์ของเราที่จะสร้างการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคงและยั่งยืน
กลยุทธ์ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของเรานั้นสนับสนุนกลยุทธ์และทิศทางการเติบโตของบริษัท AWC จึงได้จัดทำกลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานขึ้นมา 5 กลยุทธ์ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของ AWC และยกระดับมาตรฐานของคู่ค้า กลยุทธ์ฯ ดังกล่าวได้แก่
- การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่คู่ค้า
- การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน
- การร่วมมือเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
- การสร้างคุณค่าที่ยั่งยืน
- การบูรณาการประเด็นด้านความเสี่ยง
วัตถุประสงค์การดำเนินงานหลัก | รายละเอียด | การเชื่อมโยงไปยังกลยุทธ์ฯ |
---|---|---|
การปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัย | อาชีวอนามัย และความปลอดภัยเป็นหนึ่งในหัวข้อการประเมินผลการดำเนินงานของคู่ค้า ซึ่งคู่ค้าจำเป็นต้องมีการดำเนินงานตามข้อกำหนดของกฎหมายทั้งทางด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม คู่ค้าที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานจะได้รับผลการประเมินที่สูงกว่าคู่ค้าที่ไม่ได้รับการรับรอง นอกจากนี้ หากคู่ค้าได้รับการประเมินว่ามีอุบัติการณ์หรือการดำเนินงานที่ไม้สอดคล้องกับข้อกำหนดด้านความปลดภัย ก็จะถูกหักคะแนนการประเมินจำนวน 2 คะแนนต่อครั้งที่พบความไม่สอดคล้อง |
|
การป้องกันการฉ้อโกงอย่างเต็มประสิทธิภาพ | การป้องกันการฉ้อโกงเป็นหนึ่งในประเด็นที่ AWC ให้ความสำคัญและเน้นย้ำมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นในจรรยาบรรณบริษัท และจรรรยาบรรณสำหรับคู่ค้า และเพื่อป้องกันการเกิดการฉ้อโกงตลอดห่วงโซ่อุปทาน AWC ได้ดำเนินการเพิ่มมาตรการและการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนทั้งในกระบวนการดำเนินงานของบริษัท และการดำเนินงานของคู่ค้า |
|
เพื่อสร้างความมั่นใจว่ากลยุทธ์ฯ ได้ถูกนำไปปฎิบัติอย่างครบถ้วนและประสบความสำเร็จ AWC จึงได้จัดตั้ง KPI ดังนี้
- ร้อยละ 100 ของคู่ค้าที่มีความสำคัญลำดับที่ 1 เซ็นรับทราบและนำจรรญาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้าไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ภายในปี 2564
- ร้อยละ 100 ของคู่ค้าที่มีความสำคัญลำดับที่ 1 มีแผนบรรเทาและแผนการแก้ไขความเสี่ยงที่พบภายใน 12 เดือน
- ร้อยละ 100 ของคู่ค้าที่มีความสำคัญลำดับที่ 1 ปฏิบัติตามกฏหมายด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
การแบ่งประเภทคู่ค้า
จำนวนคู่ค้า | |
---|---|
คู่ค้าลำดับที่ 1 | 2652 |
คู่ค้าสำคัญลำดับที่ 1 | 82 |
คู่ค้าทางอ้อมที่มีความสำคัญ | 82 |
การจำแนกประเภทซัพพลายเออร์
สำหรับ AWC ซัพพลายเออร์หลักหมายรวมถึงผู้ผลิต ผู้ให้บริการสินค้า วัสดุ และบริการ และผู้จัดจำหน่ายสินค้า วัสดุ และบริการที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน การประสบความสำเร็จในตลาด และการดำเนินธุรกิจของ AWC นิยามของซัพพลายเออร์หลักคือ
- ซัพพลายเออร์ที่ AWC มีปริมาณการสั่งซื้อจำนวนมาก
- ซัพพลายเออร์ที่ผลิต จัดหา และจัดจำหน่ายสินค้า วัสดุ และบริการที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ
- ซัพพลายเออร์ที่ผลิต จัดหา และจัดจำหน่ายสินค้า วัสดุ และบริการที่ไม่สามารถทดแทนได้
- ซัพพลายเออร์ที่ได้รับการว่าจ้างให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากสินค้าตราห้างหรือตราสินค้าส่วนตัว
นอกเหนือจากนิยามของซัพพลายเออร์หลักแล้ว AWC ยังนิยามซัพพลายเออร์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อ ESG ว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ให้บริการสินค้า วัสดุ และบริการ และผู้จัดจำหน่ายสินค้า วัสดุ และบริการ ซึ่งการดำเนินธุรกิจของซัพพลายเออร์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบ ESG เชิงลบต่อ AWC ทั้งนี้ ผลกระทบ ESG เชิงลบอาจครอบคลุมถึงการไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบข้อบังคับ หลักปฏิบัติในการทำงานสำหรับซัพพลายเออร์ มาตรฐานสิทธิมนุษยชน มาตรฐานสิทธิแรงงาน แนวทางปฏิบัติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ

ผลการดำเนินงานการจัดการห่วงโซ่อุปทานในปี 2564
การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย | หน่วย | 2564 |
---|---|---|
มูลค่าในห่วงโซ่อุปทาน | ล้านบาท | 2,493.95 |
โครงการริเริ่ม ESG กับซัพพลายเออร์
โรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค และ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล ได้จัดหาแหล่งวัตถุดิบอินทรีย์จากเกษตรกรท้องถิ่น เพื่อใช้ในร้านอาหาร ของโรงแรม
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่ได้รับการผลักดันให้เป็นแถวหน้าของข้อพิพาททางกฎหมายระหว่างประเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบที่สำคัญ องค์กรต่าง ๆ ต้องปรับปรุงการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าและพนักงาน ซึ่งให้ความสำคัญกับปัญหาการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่กรอบการกำกับดูแลของประเทศไทยกำลังไล่ตามประเทศอื่นๆ AWC พิจารณาว่าการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญก่อน การทำความเข้าใจบทบาทของบริษัทในการปกป้องข้อมูลให้ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ และพนักงาน AWC มุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่นี้อย่างจริงจัง
นอกจากนี้ AWC ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศให้กำกับดูแลกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศ ประสิทธิภาพการทำงาน และให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลของเราอย่างต่อเนื่อง คณะอนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ประกอบด้วยกรรมการและผู้บริหารที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศ Chief Corporate Officer (CCO) ซึ่งมีภูมิหลังด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศอย่างครอบคลุมดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศภายในบริษัท CCO จะรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่ดูแลและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ
คณะอนุกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ

การตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัย
AWC ได้กำหนดนโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในหมู่ผู้บริหารและพนักงานของ AWC
โดย AWC ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (2019) และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 (2019) และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป พ.ศ. 2559 (2016) โดยปฏิบัติตามการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องตามกฎหมาย การบันทึก และการใช้ข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น นโยบายนี้มีพร้อมให้เป็นการภายในสำหรับพนักงานทุกคนและผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศของ AWC วัตถุประสงค์หลักของนโยบาย คือ เพื่ออธิบายบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการคุณสมบัติข้อมูลภายใน ควบคุม และคงไว้ซึ่งการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศสำหรับการจัดเก็บทั้งภายในและภายนอก ให้คำแนะนำสำหรับแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ และให้คำแนะนำแก่พนักงานเพื่อปฏิบัติตาม

แผนรับมืออุบัติการณ์ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศ
AWC ได้พัฒนาแผนรับมืออุบัติการณ์ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศอย่างเป็นระบบ แผนรับมืออุบัติการณ์นี้ได้รับการออกแบบให้สามารถใช้ได้กับ AWC และบุคคลภายนอก (ผู้รับจ้าง) ที่รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศของ AWC
AWC พัฒนาระบบป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลของบริษัทให้ลดความเสี่ยงจากการละเมิดข้อมูลในขณะที่ปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ทั้งนี้ ด้วยแนวทางปฏิบัติในการใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรมเคร่งครัด AWC สร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลอย่างรับผิดชอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้โครงสร้างพื้นฐานด้าน IT บริษัทสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล สื่อสารข่าว IT ที่เกิดขึ้นใหม่ผ่านจดหมายข่าว และดำเนินการตรวจสอบภายใน
AWC ให้การรับรองแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเราว่าเราพร้อมรับมือวิกฤตที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่อาจเกิดขึ้น
สมรรถนะของ IT และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
2561 | 2562 | 2563 | 2564 | เป้าหมาย 2564 | |
---|---|---|---|---|---|
การละเมิดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลหรืออุบัติการณ์ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อื่น ๆ | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
ลูกค้าและพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดข้อมูลของบริษัท | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
การร้องเรียนเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าจากบุคคลภายนอก | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
การร้องเรียนเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าจากหน่วยงานกำกับดูแล | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
แนวทางปฏิบัติด้านภาษีอากรของบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)
AWC มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรมและยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควบคู่กับการสร้างคุณค่าที่ดีร่วมกันตลอดกระบวนการดำเนินธุรกิจเพื่อการเป็นองค์กรที่ดีของประเทศ โดยในด้านภาษี AWC มีการบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส่ ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทุกประเภทซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมหลักขององค์กร
การปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากรอย่างมีความรับผิดชอบ
AWC มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากรและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทุกประเภทอย่างถูกต้องในทุกประเทศและ/หรืออาณาเขตที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทจะดำเนินธุรกิจและบริหารจัดการโครงสร้างภาษีให้สอดคล้องกับทั้งเจตนารมณ์และตัวบทของกฎหมายนั้น รวมถึงจะไม่แสวงหาผลประโยชน์ใดๆ จากช่องว่างของกฎหมายภาษีอากร
การวางแผนโครงสร้างทางภาษีอย่างเหมาะสม
AWC มุ่งมั่นในการสร้างความมั่นใจเรื่องการบริหารจัดการโครงสร้างภาษีต่อผู้ถือหุ้น พันธมิตรทางธุรกิจรวมถึงพนักงาน โดยจะบริหารงานด้านภาษีด้วยความโปร่งใสและจะไม่สร้างภาระภาษีโดยไม่จำเป็นซึ่งจะส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งหมายความว่าเราจะมีส่วนร่วมในการวางแผนภาษีอากรอย่างเหมาะสมเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทจะไม่มีภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเกิดขึ้นจากเงินได้หรือธุรกรรมเดียวกัน และเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีภาระภาษีมากกว่าที่กฎหมายกำหนดโดยไม่จำเป็น
บริษัทอาจใช้ประโยชน์จากมาตรการทางภาษีหรือการยกเว้นภาษีตามที่กฎหมายให้การสนับสนุนหรืออนุญาตให้กระทำได้เมื่อมีความเหมาะสม
บริษัทจะไม่ทำธุรกรรมอันอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจซึ่งหมายรวมถึงการหนีภาษีอากรหรือการสนับสนุนการหนีภาษีอากร นอกจากนี้บริษัทจะไม่กระทำการถ่ายโอนรายได้หรือกำไรไปยังประเทศและ/หรืออาณาเขตที่มีอัตราภาษีต่ำ สร้างธุรกรรมหรือธุรกิจเพื่อลดภาษีโดยไม่มีเหตุผลการทางการค้า และไม่ดำเนินธุรกิจในประเทศหรืออาณาเขตที่เป็นเขตปลอดภาษีหรือปกปิดข้อมูล (Tax haven) เพื่อการหลีกเลี่ยงภาษี

การกำหนดราคาโอนอย่างเหมาะสม

บริษัทมุ่งหมายที่จะจ่ายภาษีในจำนวนที่เหมาะสมตามมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินการทางการค้าที่เป็นปกติ บริษัทจะคำนวณราคาโอนที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทในเครือให้เป็นไปตามราคาตลาด
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนที่ดีในการสร้างเสริมห่วงโซ่คุณค่าที่แข็งแกร่งสู่ความยั่งยืน เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าร่วมกัน
การสนับสนุนต่อภาคส่วนต่างๆ
รายชื่อองค์กร | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 |
สมาคมโรงแรมไทย | - | 3,745 | - | - |
หอการค้าไทย และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย | - | 8,000 | - | - |
สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) | 12,840 | 12,840 | 27,730 | - |
สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย | - | 2,140 | 24,470 | 22,470 |
หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย | - | - | 26,750 | 34,240 |
หอการค้าออสเตรเลีย-ไทย | - | - | 19,260 | 19,260 |
มูลนิธิมาตรฐานโรงแรมไทย | - | - | - | 14,980 |
รวมทั้งสิ้น | 12,840 | 26,725 | 98,210 | 90,950 |
ทั้งนี้ AWC มิได้ให้การสนับสนุนการรณรงค์ที่เกี่ยวข้องกับการ องค์กรทางการเมือง บุคคลหรือองค์กรที่ทำการชี้นำ และกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษีอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption Policy)
MAJOR ISSUES OR TOPICS
ในปี 2563 AWC สนับสนุนองค์กรต่าง ๆ แบ่งเป็นประเด็นหลัก ดังนี้
ประเด็น | Corporate Position | รายละเอียดการสนับสนุน | จำนวนเงินที่สนับสนุนในปี 2563 |
---|---|---|---|
เพื่อสนับสนุนธุรกิจและการค้าเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย | สนับสนุน | AWC เป็นสมาชิกเชิงรุกขององค์กรทางการค้า ต่าง ๆ ได้แก่ สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย และหอการค้าออสเตรเลีย-ไทย โดยองค์กรทางการค้าดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนนโยบายทางธุรกิจด้านบวก ซึ่งช่วยในการเติบโตของธุรกิจ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศไทย | 75,970 บาท |
เพื่อส่งเสริมมาตรฐานที่พักให้กับโรงแรมและรีสอร์ทในประเทศไทย | สนับสนุน | AWC เข้าร่วมและให้การสนับสนุนมูลนิธิมาตรฐานโรงแรมไทยซึ่งมีบทบาทพิเศษในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ โดยสมาคมมีจุดมุ่งหมายในการยกระดับมาตรฐานของธุรกิจโรงแรมโดยรวม ด้วยระบบการจัดระดับดาวที่มีมาตรฐานและเป็นที่น่าเชื่อถือ โดยจัดระดับดาวตั้งแต่หนึ่งดาวถึงห้าดาว ให้กับโรงแรมทั่วประเทศ โดยโรงแรมในเครือ AWC มีเป้าหมายที่จะบรรลุระดับห้าดาว จากการเป็นโรงแรมที่มอบบริการที่ดีที่สุดกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ ยังมุ่งมั่นในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ตลอดจนส่งเสริมการตลาด/การขายของโรงแรมให้สามารถแข่งขันได้อย่างเป็นธรรมและสอดคล้องกับสภาวะตลาด ตลอดจนตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า | 14,980 บาท |
LARGE EXPENDITURES
องค์กรที่ AWC ให้การสนับสนุนสูงสุด 3 อันดับแรกในปี พ.ศ. 2563 ได้แก่
Name | Type of Organization | Description of Trade Association | Total Amount Paid in 2020 |
---|---|---|---|
หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย | สมาคมการค้า | หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (AMCHAM) เป็นสมาคมธุรกิจระหว่างประเทศที่เป็นอิสระ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่แสวงหาผลกำไร และเป็นผู้นำในประเทศไทย โดยสมาคมฯ ร่วมมือกับสถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทยและสมาคมในเครือ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างผลเชิงบวกในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ในฐานะสมาชิก AWC ได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจผ่านการเสริมสร้างศักยภาพ การสนับสนุน และกิจกรรมการสร้างเครือข่าย | 34,240 บาท |
สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย | สมาคมการค้า | สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย (BCCT) เป็นสมาคมที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลหรือจากแหล่งเงินทุนภายนอกของประเทศอังกฤษหรือไทย สภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทยกำหนดพันธกิจอย่างชัดเจน เพื่อตอบสนองความต้องการและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจของประเทศอังกฤษในประเทศไทย และในฐานะ ‘พันธมิตร’ ที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยตรง ในฐานะสมาชิก AWC ได้รับความสนับสนุนโอกาสผ่านเครือข่ายสภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย | 22,470 บาท |
หอการค้าออสเตรเลีย-ไทย | สมาคมการค้า | ก่อตั้งขึ้นด้วยกฎบัตรเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างประเทศออสเตรเลียและไทย โดยหอการค้าออสเตรเลีย-ไทย ทำหน้าที่เชื่อมโยงและข้อมูลทางธุรกิจระหว่างสองประเทศ เพื่อส่งเสริมธุรกิจสัญชาติออสเตรเลียที่ต้องการซื้อขายหรือลงทุนในประเทศไทย เช่นเดียวกับให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยที่สนใจในการดำเนินธุรกิจกับธุรกิจกับธุรกิจสัญชาติออสเตรเลีย หรือต้องการดำเนินธุรกิจในประเทศออสเตรเลีย หนึ่งในคุณค่าสูงสุดที่ AWC ได้รับในสถานะสมาชิกคือความสัมพันธ์อันดี และกิจกรรมที่รวบรวมนักธุรกิจดังกล่าวให้มาพบกัน | 19,260 บาท |